วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

สื่อการสอน
                 สื่อการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอนนับแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน   เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับผู้ที่สอนตั้งการ  ไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นสื่อในรูปแบบใดก็ตาม  ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น  ในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ  และคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน  โดยต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของของ “สื่อการสอน”
                สื่อ ( Medium, Pl. Media ) เป็นคำที่มาจากภาษาลาตินว่า “ Medium ”   แปลว่า “ ระหว่าง ” (between)   หมายถึง  ตัวกลางที่จะทำให้สิ่งหนึ่งเดินทางจากจุดหนึ่ง ไปยังจุดปลายทางอีกจุดหนึ่ง  หรือเป็นตัวเชื่อมระหว่างจุดทั้งสอง
                การสอน (Instruction)   การสอน  เป็นการกระทำของครูเพื่อให้เกิดการเรียนรู้หรือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียน
                สื่อการสอน (Instruction Media )  หมายถึง  ตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้   จากครูผู้สอนหรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน  เป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายและขยายเนื้อหาบทเรียน  ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นเพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้
การจำแนกสื่อการสอน
นักการศึกษาท่านต่างๆได้จำแนกสื่อการสอนตามประเภท  ลักษณะ  และวิธีการใช้  ดังนี้
v เดอ  คีฟเฟอร์  ( De Kieffer )
                เดอ  คีฟเฟอร์  ได้ทำการแบ่งสื่อออกเป็น ประเภทตามลักษณะที่ใช้ เรียกว่า “โสตทัศนูปกรณ์”    (Audio-Visual Aids)   ได้แก่
 1.    สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย  (Projected  Aids)  ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส    เครื่องฉายสไลด์  เป็นต้น
2.   สื่อประเภทไม่ใช่เครื่องฉาย (Nonprojected  Aids)  ได้แก่  รูปภาพ  ของจริง แผนภูมิ  ของจำลอง เป็นต
3.   สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio  Aids)  ได้แก่  เครื่องบันทึกเสียง  แผ่นเสียง  วิทยุ  เป็นต้น

v เอดการ์  เดล  (Edgar Dale)      
                เอดการ์  เดลได้จัดแบ่งสื่อการสอนเป็นแนวทางในอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์      ต่างๆ  ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย  โดยพัฒนาความคิดของบรุนเนอร์ (Bruner)  ซึ่งเป็นนักจิตวิทยานำมาสร้างเป็น “ กรวยประสบการณ์ ” (Cone of Experiences) โดยแบ่งขั้นตอนดังนี้      
1.         ประสบการณ์ตรง  เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดโดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรงจากของจริง  สถานการณ์จริง  หรือด้วยการกระทำของตนเอง  เช่น  การจับต้องและการเห็น   เป็นต้น
2.         ประสบการณ์รอง  เป็นการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด  ซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือการจำลองก็ได้
3.         ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง  เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดยุด้วยยุคสมัยเวลาและสถานที่ เช่น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม  เป็นต้น
4.         การสาธิต เป็นการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5.         การศึกษานอกสถานที่  เป็นการให้ผู้เรียนได้รับและเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถานที่เรียน  อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น
6.         นิทรรศการ  เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ ฯลฯ เพื่อให้สารประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม  เป็นการให้ประสบการณ์แก่ผู้ชมโดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7.         โทรทัศน์  โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผูเรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือยุทางบ้าน  และใช้ส่งได้ทั้งในระบบวงจรเปิดและวงจรปิดการสอนอาจจะเป็นการสอนลดหรือบันทึกลงวีดีทัศน์ก็ได้
8.         ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9.         การบันทึกเสียง  วิทยุ  ภาพนิ่ง  การบันทึกเสียงอาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง  วิทยุเป็นสื่อที่ให้เฉพาะเสียง  ส่วนภาพนิ่งอาจเป็นรูปภาพ  สไลด์โดยเป็นภาพวาด  ภาพล้อ  หรือภาพเหมือนจริงก็ได้  ข้อมูลที่อยู่ในสื่อ
10.  ทัศนสัญลักษณ์  เช่น แผนที่  แผนภูมิ  แผนสถิติ  หรือเครื่องหมายต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นจริงของสิ่งต่างๆหรือข้อมูลที่ต้องการให้เรียนรู้
11.  วจนสัญลักษณ์  เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด  ได้แก่  ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด
           เดลได้จำแนกสื่อการสอนออกเป็น  3  ประเภท  คือ
1)         1.สื่อประเภทวัสดุ (Solfware) หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองซึ่งจำแนกย่อยได้เป็น 2  ลักษณะ คือ
1.1      วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย  เช่น  แผนที่  ลูกโลก  ฯลฯ
1.2      วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองจำเป็นจะต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย  เช่น  แผ่นเสียง  ฟิล์มภาพยนตร์  ฯลฯ
 2.สื่อประเภทอุปกรณ์ (Hardware)  หมายถึง  สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน  เช่น  เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส                              เครื่องฉายสไลด์  ฯลฯ
3)        3.สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ (Techniques  and  Methods)  หมายถึงสื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน  โดยสามารถนำสื่อวัสดุและอุปกรณ์มาช่วยในการสอนได้  เช่น  เกมและการจำลอง  การสอน
แบบจุลภาค  ฯลฯ

v อีลี (Ely)
         อีลีได้จำแนกสื่อการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning  Resources) เป็น  5  รูปแบบ  โดยแบ่งได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (by desing)  และสื่อที่มีอยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (by utilization)  ได้แก่
1.             คน (People) ในทางการศึกษาโดยตรงนั้น  หมายความถึง  บุคลากรที่อยู่ในระบบของโรงเรียน      ได้แก่  ครู  ผู้บริหาร  ผู้แนะแนวการศึกษา  ผู้ช่วยสอน  หรือผู้ที่อำนวยความสะดวกด้านต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้ ส่วน “คน” ตามความหมายของการประยุกต์ใช้นั้นได้แก่  คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมทั่วไป  คนเหล่านี้นับเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” ซึ่งถึงแม้จะมิใช่นักศึกษา  แต่ก็สามารถจะช่วยอำนวยความสะดวกหรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ล่ะด้าน  อาทิเช่น  ศิลปิน นักการเมือง  เหล่านี้เป็นต้น
2.             วัสดุ (Materials) วัสดุในการศึกษาโดยตรงจะเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียนโดยรูปแบบของวัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง เช่น หนังสือ สไลด์    แผนที่ เป็นต้น  หรือสื่อต่างๆที่เป็นทรัพยากรในโรงเรียนและได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน  ส่วนวัสดุที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าวข้างต้น  เพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในวัสดุนั้นส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง เช่น เกมคอมพิวเตอร์  หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์ เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้มักถูกมองไปในรูปของความบันเทิงแต่ก็สามารถให้ความรู้ได้เช่นกัน
3.             อาคารสถานที่ (Settings)  หมายถึง  ตัวตึก  ที่ว่าง  สิ่งแวดล้อม ฯลฯ  ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับทรัพยากรรูปแบบอื่นที่กล่าวมาแล้วและกับผู้เรียนด้วย  สถานที่สำคัญในการศึกษา  ไดแก่  ตึกเรียน และสถานที่อื่นๆที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยส่วนรวม  เช่น  ห้องสมุด  หอประชุม                  สนามเด็กเล่น  เป็นต้น  ส่วนสถานที่ต่างๆในชุมชนก็สามารถประยุกต์ใช้เป็นทรัพยากรสื่อการเรียนได้เช่นกัน  เช่น  โรงงาน  ตลาด  สถานที่ทางประวัติศาสตร์  เป็นต้น
4.             เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tools and Equipment) เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่น  ส่วนมากมักเป็นเครื่องมือด้านโสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น

5.             กิจกรรม (Activities) โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่กล่าวถึงมักเป็นการดำเนินงานที่จัดขึ้นเพื่อกระทำร่วมกับทรัพยากรอื่นๆหรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน  เช่น  การสอนแบบโปรแกรม  เกมและการจำลอง  ฯลฯ  กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้น  มีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะแต่ละวิชา  หรือมีวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน

สื่อประสม
           ในการใช้สื่อการสอนต่างๆเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดหรือประเภทใดก็ตาม  ผู้สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละเพียงอย่างเดียว  หรืออาจจะใช้สื่อร่วมกันหลายๆอย่างในรูปแบบของ “สื่อประสม” (Multimedia)  ก็ได้     โดยอาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่  กลุ่มย่อย  หรือในการศึกษารายบุคคลการใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไปแล้วจะใช้สื่อแต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไป  แต่ในบางครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้   ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็นชุดสื่อประสมโดยผลิตขึ้นตามขั้นตอนการใช้ของระบบการสอน  โดยจัดเป็น                             “ชุดการสอน” (Teaching  Package)   สำหรับให้ผู้สอนใช้สอนแต่ละวิชา  และเป็น “ชุดการเรียน”                 (Learning  Package)  ของแต่ละวิชาสำหรับผู้เรียนให้สามารถใช้เรียนได้ด้วยตนเอง  สื่อประสมแต่ละชุดจะมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยสื่ออะไรบ้างนั้นย่อมขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของบทเรียนและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้  โดยทั่วไปแล้วชุดสื่อประสมจะจัดอยู่ในกล่องหรือแฟ้มซึ่งประกอบด้วย
1.             คู่มือ  สำหรับผู้สอนในการใช้ชุดการสอน  และสำหรับผู้เรียนในชุดการเรียน
2.             คำสั่ง   เพื่อกำหนดแนวทางในการสอนหรือการเรียน
3.             เนื้อหาบทเรียน  จัดอยู่ในรูปของสไลด์   เทปบันทึกเสียง  วัสดุกราฟิก  ม้วนวีดีทัศน์  ฯลฯ
4.             กิจกรรมการเรียน  เป็นการให้ผู้เรียนทำรายงาน  กิจกรรมที่กำหนดให้หรือค้นคว้าต่อจากที่เรียนไปแล้วเพื่อความรู้ที่กว้างขวางขึ้น
5.             แบบทดสอบ  เป็นแบบทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียนนั้นเพื่อการประเมิน
ห้องสื่อประสม
        นอกจากการใช้สื่อในรูปวัสดุที่จัดเป็นชุดสื่อประสมที่กล่าวมาแล้ว   เรายังสามารถใช้อุปกรณ์ในรูปของสื่อประสมได้ด้วย  เช่น  การใช้เทปบันทึกเสียงร่วมกับเครื่องฉายสไลด์  หรือการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์  เป็นต้น  นอกจากนี้ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาต่างๆจะจัดให้มี “ห้องสื่อประสม”  ขึ้นเพื่อเป็นห้องรวมวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่างๆไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการใช้สื่อประสมในการสอน  โดยภายในห้องสื่อประสมจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลายอย่าง  อาทิ เช่น  เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายสไลด์  จอภาพ  เครื่องเล่นวีดิทัศน์ ฯลฯ  การนำอุปกรณ์ต่างๆมารวมไว้ในห้องเดียวกันทำให้ผู้สอนสะดวกในการสอนเป็นอย่างยิ่งทำให้การสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

v ชุดสื่อประสมเคลื่อนที่
     การจัดชุดสื่อประสมเคลื่อนที่จะสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอนเป็นอย่างยิ่งในการเข็นเคลื่อนย้ายชุดสื่ออุปกรณ์ไปสอนในห้องต่างๆได้ ชุดสื่อประสมนี้จะออกแบบเป็นรถเข็นใหญ่เพื่อบรรจุอุปกรณ์การสอน  เช่น  เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส   ชุดคอมพิวเตอร์พร้อมแผงแป้นอักขระและเมาส์  จอภาพ  เครื่องเล่นแผ่นวีดีทัศน์  และลำโพง  สำหรับเคลื่อนย้ายไปยังห้องเรียนและสถานที่ต่างๆได้โดยสะดวกรวดเร็ว
v สถานีงานสื่อประสม
                 นอกจากอุปกรณ์ต่างๆที่นำมาใช้ร่วมกันในลักษณะสื่อประสมดังกล่าวแล้วยังได้มีการจัดเป็น “สถานีงานสื่อประสม”   (Hypermedia/Multimedia  Workstations) ขึ้นโดยในแต่ละสถานีงานจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชนิดต่อเชื่อมโยงกันเพื่อเสนอข้อมูลโดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางสั่งการทำงาน  สำหรับคำว่า “สถานีงาน” (Workstation) ในลักษณะนี้หมายถึงการรวบรวมอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆทั้งในระบบแอนะล็อกและดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างงมี  ประสิทธิภาพภาพสูงสุด

                  ตัวอย่างเช่น  Audio Visual Connection (AVC)  System  ของไอบีเอ็ม   ที่อาจจะเรียกได้ว่ามีลักษณะเป็นสถานีงานสื่อประสมที่ผสมผสานกันไดดีที่สุดสถานีหนึ่ง
                  อุปกรณ์ในสถานีงานประกอบด้วยส่วนป้อนข้อมูลภาพและเสียง  ได้แก่  เครื่องเล่นวีดิทัศน์    กล้องถ่ายวีดิทัศน์  เครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์  เครื่องเล่นเทปตลับ  เครื่องเล่นแผ่นซีดี  และไมโครโฟน  โดยต้องมีเครื่องแปลงสัญญาณภาพและเสียงซึ่งเป็นแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัลเสียก่อนเพื่อใส่ข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้  และหลังจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะผสมสัญญาณเพื่อส่งออกทางเครื่องรับโทรทัศน์  เครื่องขยายเสียง และอุปกรณ์รับภาพและเสียงอีกมากมายหลายประเภท

คุณค่าของสื่อการสอน   
     สื่อการสอนสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอนดังต่อไปนี้
v    สื่อกับผู้เรียน
1.             เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น  และสามารถช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2.             สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน  ทำให้เกิดความสนุกและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
3.             การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน  และเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียนนั้น
4.             ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น  ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและผู้สอนด้วย
5.             ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช่สื่อเหล่านั้น
6.             ช่วยแก้ปัญหาเรื่องราวของความแตกต่างระหว่าบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล


                  v สื่อกับผู้สอน
1.             การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียนการสอนเป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียวและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
2.             สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะบางครั้งอาจทำให้ผู้เรียนศึกษาจากสื่อเองได้
3.             เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆเพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น


หลักการเลือกสื่อการสอน
          การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง  โดยในการเลือกสื่อ  ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนเสียก่อนเพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมนอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆเพื่อประกอบการพิจารณาคือ
1.             สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2.              เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง  ทันสมัย  น่าสนใจ  และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
3.             เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย  ระดับชั้น  ความรู้  และประสบการณ์ของผู้เรียน
4.             สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้  มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
5.             ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี  มีความชัดเจนและเป็นจริง
6.             มีราคาไม่แพงจนเกินไป  หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
                    จากหลักการนี้สรุปได้ว่า  การจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในเรื่องต่างๆดังนี้
1.             วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
2.             จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้นำบทเรียน  ใช้ในการประกอบคำอธิบาย  ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียนหรือใช้เพื่อสรุปบทเรียน
3.             ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆแต่ละชนิดว่า สามารถเร้าความสนใจและให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง  เช่น  หนังสือเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้าอิง  ของจริงและของจำลองใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง  แผนภูมิ  แผนภาพ  และแผนสถิติ  ใช้เพื่อต้องการเน้นหรือเพื่อแสดงให้เห็นส่วนประกอบหรือเปรียบเทียบข้อมูล   สไลด์และฟิล์มสทิปใช้เพื่อเสนอภาพนิ่งขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนเห็นทั้งชั้นหรือใช้เพื่อการเรียนรายบุคคลก็ได้    เหล่านี้เป็นต้น
4.             ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา  สื่อบางอย่างจะคุ้มค่าในการผลิตเองหรือไม่  หรืออาจหายืมได้ที่ไหนบ้าง
v การเลือกสื่อการสอนให้ความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์และประสบการณ์
       ในการเรียนการสอนนั้น  วัตถุประสงค์ของการเรียนนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งผู้สอนจะต้องกำหนดไว้เพื่อเป็นหลักว่า  จะสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ด้านใดบ้างจากบทเรียนนั้น  ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถเลือกสื่อการสอนได้อย่างเหมาะสมกับวิธีการสอนแต่ละอย่างด้วยจากผลงานวิจัยของอัลเลน (Allen) เกี่ยวกับการเลือกสื่อการสอน อัลเลนได้แสดงตารางประสิทธิภาพของสื่อชนิดต่างๆเพื่อให้ผู้สอนสามารถเลือกสื่อเพื่อใช้สอนได้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์และประกอบการเรียนรู้อันจะทำให้การเรียนการสอนมีคุณค่าและได้ผลดีมากยิ่งขึ้น  
ขั้นตอนการเลือกสื่อการสอน            
   การใช้สื่อการสอนนั้นอาจใช้เฉพาะขั้นตอนใดตอนหนึ่งของการสอน  หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้ดังนี้
1.             ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน   เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อนยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง  อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิดและควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น  เช่น  ภาพ  บัตรคำ  หรือบัตรปัญหา  เป็นต้น
2.             ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นสำคัญในการเรียนเพราะเป็นขั้นที่จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ตั้งไว้   ผู้สอนต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอนหรืออาจจะใช้สื่อหลายแบบก็ได้  ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน  การใช้สื่อในขณะนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและขัดเจนแก่ผู้เรียน  การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน  เช่น  ภาพยนตร์  สไลด์  แผ่นโปร่งใส  เป็นต้น
3.             ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ  เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฎีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือฝึกปฏิบัติเองสื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิดโดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด  เช่น  ภาพ  บัตรปัญหา  เป็นต้น
4.             ขั้นสรุปบทเรียน  เป็นขั้นของการเรียนการสอนเพื่อการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งด้วย  ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆเช่นเดียวกับขั้นนำ  สื่อที่ใช้สรุปจึงควรครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมดโดยย่อและย่อและใช้เวลาน้อย  เช่น  แผนภูมิ  แผ่นโปร่งใส  เป็นต้น
5.             ขั้นประเมินผู้เรียน   เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใดและบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่  สื่อในขั้นการประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้  อาจนำบัตรคำหรือสื่อต่างๆ ที่ใช้ในขั้นกิจกรรมการเรียนมาถามอีกครั้งหนึ่ง  และอาจเป็นการทดสอบโดยการปฏิบัติจากสื่อหรือการกระทำของผู้เรียนเพื่อทดสอบดุว่าผู้เรียนสามารถมีทักษะจากการฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

หลักการใช้สื่อการสอน          
ภายหลังจากที่ผู้สอนได้เลือกและตัดสินใจแล้วว่าจะใช้สื่อประเภทใดในการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาของสื่อนั้นได้ดีที่สุด  ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้
1.             เตรียมตัวผู้สอน   เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน  ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ว่ามีเนื้อหาถูกต้อง  ครบถ้วน  และตรงกับที่ต้องการใช้หรือไม่  ถ้าสื่อนั้นมีเนื้อหาไม่ครบ  ผู้สอนจะเพิ่มเติมโดยวิธีการใดในจุดไหนบ้าง  จะมีวิธีการใช้สื่ออย่างไร  เช่น  ใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นการนำบทเรียนที่จะสอน  แล้วอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนนั้น  ต่อจากนั้นเป็นการให้ชมวิดีทัศน์เพื่อเสริมความรู้และจบลงโดยการสรุปด้วยแผ่นโปร่งใสอีกครั้งหนึ่ง  ดังนี้เป็นต้น  ขั้นตอนเหล่านี้ผู้สอนต้องเตรียมตัวโดยเขียนลงในแผนการสอนเพื่อการใช้สื่อได้ถูกต้อง
2.             เตรียมจัดสภาพแวดล้อม  โดยการจัดเตรียมวัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม  ตลอดจนจัดเตรียมสถานที่ห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมด้วย  เช่น  มีแผ่นโปร่งใสและปากกาเขียนอยู่หรือไม่  ม้วนวีดิทัศน์ที่นำมาจะฉายมีการกรอกลับตั้งแต่ต้นเรื่องหรือยังเครื่องรับโทรทัศน์ต่อเข้ากับเครื่องเล่นวีดิทัศน์เรียบร้อยไหม  ที่นั่ง  ของผู้เรียนอยู่ในระยะที่เหมาะสมหรือไม่ ฯลฯ สภาพแวดล้อมและความพร้อมต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่เสียเวลา
3.             เตรียมพร้อมผู้เรียน  เป็นการเตรียมตัวผู้เรียนโดยมีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อนั้นเป็นอย่างไร  เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมพร้อมในการฟัง  ดูหรืออ่านบทเรียนจากสื่อนั้นให้เข้าใจได้ดีละสามารถจับประเด็นสำคัญของเนื้อหาได้  หรือหากผู้เรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเอง  ผู้สอนต้องบอกวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ผู้เรียนยังไม่เคยใช้มาก่อน  และผู้สอนก็ควรบอกกล่าวล่วงหน้าว่าหลังจากมีการเรียนหรือใช้เหล่านั้นแล้วผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง  เช่น  มีการทดสอบ  การอภิปราย  การแสดง  หรือการปฏิบัติ  ฯลฯ  เพื่อผู้เรียนจะเตรียมตัวได้ถูกต้อง
1.             การใช่สื่อ  ผู้สอนต้องใช้สื่อให้เหมาะสมกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้วเพื่อให้ดำเนินการสอนไปได้อย่างราบรื่น  และต้องควบคุมการเสนอสื่อให้ถูกต้อง  ตัวอย่างเช่น                                        ในการฉายวีดิทัศน์   ผู้สอนต้องปรับภาพที่ออกทางเครื่องรับโทรทัศน์ให้ชัดเจน  ปรับเสียงอย่าให้ดังจนรบกวนห้องเรียนอื่นหรือค่อยจนเกินไปจนผู้เรียนที่นั่งอยู่หลังห้องไม่ได้ยิน  หรือดูว่ามีแสงตกบนจอภาพหรือไม่  ดังนี้เป็นต้น
2.             การติดตามผล  หลังจากที่มีการเสนอสื่อแล้ว  ควรมีการติดตามผลโดยการให้ผู้เรียนตอบคำถาม  อภิปราย  หรือเขียนรายงานมาส่ง  เพื่อเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนรู้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่  เพื่อผู้สอนจะได้สามารถทราบจุดบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงการสอนของตนได้

การประเมินสื่อการสอน
      นอกจากในการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนต่างๆดังกล่าวมาแล้วผู้สอนควรจะต้องมีการวิเคราะห์เช่นก่อนว่า  มีการสื่อการสอนอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่  ดังนั้น  จึงควรต้องมีการประเมินการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
1.              ประเมินการวางแผนก่อนใช้สื่อ   เพื่อดูว่าสิ่งต่างๆที่วางไว้สามารถดำเนินไปตามแผนหรือไม่  หรือเป็นไปเพียงตามหลักการทฤษฎีแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงจึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อแก้ไขปรับปรุงในการวางแผนครั้งต่อไป
2.             ประเมินกระบวนการใช้สื่อ  เพื่อดูว่าการใช่สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง  มรสาเหตุมาจากอะไรและมีการเตรียมป้องกันไว้หรือไม่
3.             ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ  เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรงว่าเมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์
การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการสอน
v การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน  (Analyze Learner Characteristics)
     เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อผู้สอนจะได้ทราบว่า  ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนนั้นมากน้อยเพียงใด  ทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน  ในเรื่องนี้ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียนลักษณะทั่วไปได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม  เศรษฐกิจ  และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน  ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตาม  แต่ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้สำหรับลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น  นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับเนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้สอน  สิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์   ได้แก่
1.             ทักษะที่มีมาก่อน (prerequisite  skills) เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานหรือทักษะที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นอะไรบ้างก่อนที่จะเรียน
2.             ทักษะเป้าหมาย (target skills )  ผู้เรียนมีความชำนาญในทักษะที่จะสอนนั้นมาก่อนหรือไม่  เพื่อจะได้สอนให้ตรงกับที่วางจุดมุ่งหมายไว้
3.             ทักษะในการเรียน (study  skills) ผู้เรียนสามารถขั้นต้นทางด้านภาษา  การอ่านเขียน  การคำนวณ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยในการเรียนรู้นั้นในระดับมากน้อยเพียงไร
4.             ทัศนคติ (attitudes)  ผู้เรียนมีทัศนคติอย่างไรต่อวิชาที่จะเรียนนั้น
              การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำเพียงผิวเผินก็ตาม  แต่ก็สามารถนำไปใช้ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมได้  เช่น  หากผู้เรียนมีทักษะในการอ่านต่ำกว่าเกณฑ์ก็สามารถช่วยได้ด้วยการใช้สื่อประเภทที่มิใช่สื่อสิ่งพิมพ์  หรือถ้าหากผู้เรียนในกลุ่มนั้นมีความแตกต่างกันมากก็สามารถให้เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนรายบุคคล  เป็นต้น
              การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนอาจจะทำได้ยากเป็นบางครั้ง  ทั้งนี้เพราะผู้สอนอาจมีเวลาน้อยที่จะสังเกต  หรือผู้เรียนอาจเป็นผู้มาจากที่อื่นที่เข้ามาเรียนหรอรับการอบรม  แต่ก็สามารถกระทำด้วยการสนทนากับผู้เรียนหรือผู้ร่วมชั้นอื่นๆ  หรืออาจมีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อดูพื้นฐานของผู้เรียนก็ได้
                                                                                                                                                                       
v การกำหนดวัตถุประสงค์ (State  Objectives)
           วัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อคาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถบรรลุถึงสิ่งใดหรือมีความสามารถใหม่อะไรบ้างในการเรียนนั้น  การตั้งหรือกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนนี้เพื่อ
1.             ผู้สอนจะได้ทราบว่าการเรียนการสอนนั้นมีวัตถุประสงค์อะไรเพื่อสะดวกในการเลือกสื่อและวิธีการให้ถูกต้อง  วัตถุประสงค์นี้จะช่วยผู้สอนในการจัดลำดับกิจกรรมการเรียนและสร้างสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุนั้น
2.             ช่วยในการประเมินผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง  เพราะผู้สอนจะไม่ทราบเลยว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ถ้าไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ก่อน
3.             ช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วจะสามารถเรียนรู้หรือกระทำอะไรได้บ้าง
การกำหนดวัตถุประสงค์    ควรประกอบด้วย
1.             การกระทำ (Performance)  เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถกระทำอะไรได้บ้างภายหลังจากการเรียนแล้ว  ซึ่งการกระทำนั้นต้องเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้
2.             เงื่อนไข  (Conditions) เป็นข้อกำกัดหรือเงื่อนไขที่ตั้งขึ้นโดยการรวมอยู่ภายใต้การกระทำนั้น
3.             เกณฑ์ (Criteria) เพื่อเป็นการตัดสินการกระทำนั้นว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
              เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว  ควรมีการแบ่งประเภทหรือระดับของขอบเขตการเรียนรู้ทั้งนี้เพื่อประโยชน์หรือแนวทางในการตัดสินใจว่า  การเรียนรู้นั้นจะคลอบคลุมแนวของทักษะหรือพฤติกรรมอะไรบ้าง  จึงต้องมีการกำหนดเป็น “วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม” ได้แก่
1.             พุทธิพิสัย  เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ  สติปัญญา  และการพัฒนา  เป็นต้น
2.             จิตตพิสัย  เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด  ทัศนคติ  ความรู้สึก  ค่านิยม  และการเสริมสร้างทางปัญญา
3.             ทักษะพิสัย  เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ  การแสดงออก  หรือการปฏิบัติ

v   การเลือก  ดัดแปลง  หรือออกแบบสื่อ (Select, Modify, or Design Materials)
            การที่จะมีสื่อวัสดุที่เหมาะสมในการเรียนการสอนสามารถทำได้ วิธี คือ
1.             เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว   ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว  ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำคือ  ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้างโดยเลือกให้ตรงกับลักษณะของผู้เรียนและวัตถุประสงค์ของการเรียน  เช่น  สื่อที่มีอยู่มีเนื้อหาข้อมูลและกิจกรรมที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่   และการเลือกสื่อนั้นย่อมขึ้นอยู่กับวิธีการสอนในบทเรียนละข้อจำกัดของสถานการณ์การเรียนการสอนด้วย
2.             ดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว  ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อนั้นด้วย  เช่น มีภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเป็นภาษาอังกฤษ  ถ้ามีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วบันทึกเสียงลงใหม่เพื่อให้ผู้เรียนชมและฟังเข้าใจง่ายขึ้น  จะคุ้มกับเวลาและการลงทุนหรือไม่  เป็นต้น
1.             การออกแบบสื่อใหม่  ในกรณีที่ไม่มีสื่อสื่อเดิมอยู่แล้วไม่สามารถนำมาดัดแปลงให้ใช้ได้ตามที่ต้องการ  ผู้สอนย่อมต้องมีการออกแบบและจัดทำสื่อใหม่ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆอย่าง  เช่น  ให้ต้องตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนและลักษณะของผู้เรียนมีงบประมาณในการจัดทำเพียงพอหรือไม่  มีเครื่องมือและผู้ชำนาญในการจัดทำสื่อหรือไม่  เป็นต้น
v การใช้สื่อ (Utilize  Materials)
เป็นขั้นของการกระทำจริงซึ่งผู้สอนจะต้องดำเนินการดังนี้
1.             ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว  เช่น  ดูสไลด์หรือวีดิทัศน์เพื่อศึกษาเนื้อหาให้แม่นยำก่อนนำไปสอน  หรืออ่านบทวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นร่วมด้วย
2.             จัดเตรียมสถานที่  ที่นั่งเรียน  อุปกรณ์เครื่องมือ  และสิ่งต่างๆเพื่อความสะดวกเรียบร้อยก่อนการสอน  และควรต้องทดลองอุปการณ์ที่จะใช้ก่อนว่าใช้ดีหรือไม่
3.             เตรียมตัวผู้เรียน  โดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน  ถ้ามีการฉายวีดิทัศน์หรือภาพยนตร์ให้ชมก็ควรจะต้องสรุปเนื้อหาเรื่องที่จะชมนั้นให้ผู้เรียนทราบเสียก่อนว่าเกี่ยวข้องกับบทเรียนอย่างไรบ้าง  เป็นการแนะนำก่อนล่วงหน้าและเพื่อสร้างแรงจูงใจแกผู้เรียน
4.             ควบคุมชั้นเรียน  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อที่นำเสนอนั้น
v การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require  Learner  Response)
             การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนและเปิดโอกาสให้มีการตอบสนองนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งซึ่งผู้เรียนมีการตอบสนองหรือไม่หรือมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับสื่อที่นำมาใช้  สื่อบางชนิดเมื่อใช้แล้วจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากกว่าสื่อชนิดอื่น  เช่น  การให้อ่านข้อความในหนังสือหรือดูรูปจะทำให้ผู้เรียนมีการอภิปรายจากสิ่งที่อ่านหรือเห็น  ผู้เรียนย่อมมีการตอบสนองเกิดขึ้นได้ทันทีและง่ายกว่าการดูภาพยนตร์  ทั้งนี้เพราะการดูภาพยนตร์ถ้าจะให้ดูรู้เรื่องจริงๆแล้วควรจะต้องดูให้จบเรื่องเสียก่อนแล้วจึงอภิปรายกัน  ซึ่งจะดีกว่าหยุดทีละตอนแล้วอภิปรายเพราะจะทำให้มีการขัดจังหวะเกิดความไม่ต่อเนื่องในการดูอาจจะทำให้ไม่เข้าใจหรือจับใจความสำคัญของเรื่องไม่ได้  นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถมีการตอบสนองโดยเปิดเผย (overt response)  โดยการพูดออกมาหรือเขียนและการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน                            (covert  response)  โดยการท่องจำหรือคิดในใจเมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองแล้วผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันทีเพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่  การเรียนการสอนโดยการให้ทำแบบฝึกหัด  การตอบคำถาม  การอภิปราย  หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม  จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการตอบสนองและได้รับการเสริมแรงระหว่างการเรียนได้ดีเป็นอย่างดี
v การประเมิน (Evaluation )
1.             การประเมินกระบวนการสอน  เพื่อเป็นการประเมินว่าสามารถบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ทั้งในด้านผู้สอน  สื่อการสอน  และวิธีการสอน  โดยในการประเมินสามารถทำได้ทั้งในระยะก่อน  ระหว่าง  และ  หลังการสอน
2.             การประเมินความสำเร็จของผู้เรียน  ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่ามีเกณฑ์เท่าใดการวัดผลอาจทำได้ด้วยการทดสอบ   การสอบปากเปล่า  หรือ ดูจากผลงานของผู้เรียน  สิ่งสำคัญที่จะทราบได้ว่าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลทางการเรียนน้อยเท่าใด  คือ  สังเกตจากการปฏิบัติและการแสดงออกของผู้เรียนนั้น
3.             การประเมินสื่อและวิธีการสอน  โดยการให้ผู้เรียนมีการอภิปรายและวิจารณ์การใช้สื่อและเทคนิควิธีการสอนว่าเหมาะสมมากน้อยเพียงใด